tedter
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

tedter

ยินดีต้อนรับ ทุกท่านนะครับ เชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราได้เลยโดยการสมัครสมาชิกนะครับ
 
HomeSearchLatest imagesRegisterLog in

 

 ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้

Go down 
AuthorMessage
ninein

ninein


Posts : 57
Join date : 2009-11-01

ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้ Empty
PostSubject: ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้   ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้ EmptyMon Nov 02, 2009 6:22 pm

ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้ สำหรับผู้เริ่มต้นและระดับกลางน่าอ่านมาก

API
Application Program Interface หรือ API หรือ เอพีไอ คือ วิธีการเฉพาะสำหรับการเรียกใช้ระบบปฏิบัติการหรือแอพ พลิเคชั่นอื่นๆ หรือชุดโค้ด คอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานระหว่างแอ พพลิเคชั่นกับระบบปฏิบัติการ

การที่แอพพลิเคชั่นจะเชื่อมต่อการทำงาน กับระบบปฏิบัต ิการได้นั้น จำเป็นต้องมีเอพีไอเป็นตัวเชื่อม ซึ่งหากไม่มีการเปิดเผยเอพีไอของระบบปฏิบัติการ ออกมาแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่โปรแกรมเมอร์จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นข องเขาให้ทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการได้เต็ม 100%

อย่างไรก็ตาม แม้เอพีไอจะเป็นอินเตอร์เฟสชนิดหนึ่ง แต่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานของโปรแกรม ซึ่งต่างไปจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (User Interface) ทั้งแบบกราฟิก (Graphical User Interface; GUI) และแบบเดิมที่เป็นบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่เป็นอินเตอร์เฟสเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์กับผู้ใช ้


Application Program
Application Program หรือ แอพพลิเคชั่นโปรแกรม หรือเรียกสั้นๆว่า Application หรือ แอพพลิเคชั่น คือ โปรแกมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่เฉพาะสำหรับผู้ใ ช้โดยตรง หรือจากแอพพลิเคชั่นอื่นในบางกรณี

ตัวอย่าง เช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, ดาต้าเบส, เว็บเบราวเซอร์, เครื่องมือพัฒนา หรือ ดีเวลอปเมนต์ทูล (Development Tool), โปรแกรมดรอว์อิ้ง, โปรแกรมเพนต์, โปรแกรมตกแต่งภาพ (Image Editor) และโปรแกรมสื่อสาร (Communication Program) เป็นต้น

แอพพลิเคชั่นจะมีการเรียกใช้เซอร์วิสของระบบ ปฏิบัติก ารหรือโปรแกรมซัพพอร์ตอื่นๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย โดยรูปแบบในการขอใช้หรือรีเควสต์ (Request) เซอร์วิส และวิธีการสื่อสารกับโปรแกรมอื่น ที่โปรแกรมเมอร์ใช้ในการเขียนแอพพลิเคชั่น เรียกว่า แอพพลิเคชั่นโปรแกรมอินเตอร์เฟส (Application Program Interface; API)

BIOS
BIOS หรือ ไบออส หรือ Basic Input/Output คือ โปรแกรมที่ไมโครโปรเซสเซอร์ใช้เพื่อเริ่มสตาร์ทกา รทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หลังเปิดสวิตช์ ไบออสจะคอยควบคุมหรือจัดการกับกระแสข้อมูลที่วิ่งระห ว่างระบบปฏิบัติการหรือโอเอส (Operating System; OS) กับอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ เช่น ฮาร์ดดิสก์, กราฟิกการ์ด, คีย์บอร์ด, เมาส์ หรือพรินเตอร์ เป็นต้น

ไบออสจะถูกบรรจุไว้ในชิพเอ็ปรอม (EPROM) ซึ่งถูกอินทิเกรตติดไว้กับเมนบอร์ด ไม่เหมือนกับโอเอสที่แยกติดตั้งต่างหาก ทันทีที่เปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์จะส่งผ่านการควบคุมไปให้กับไบออส

ไบออสจะทำการค้นหา ว่า มีอุปกรณ์ใดเชื่อมต่ออยู่กับระบบและพร้อมทำงานบ้าง จากนั้นจึงโหลดโอเอสเข้าสู่หน่วยความจำหลักหรือแรมจา กฮาร์ดดิสก์

ไบออ สทำให้ระบบปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชั่นเป็นอิสระ คือไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวอุปกรณ์นั ้นๆ เช่น แอดเดรส เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับอุปกรณ์ มีเพียงไบออสเท่านั้นที่ต้องถูกแก้ไขหรือปรับแต่งให้ ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งบางครั้งการแก้ไขไบออสสามารถทำได้ในระหว่างเซ็ตอ ัพระบบ

แม้ว่า ในทางทฤษฎีแล้ว ไบออสจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยควบคุมกระแสข้อมูลระห ว่างไมโครโปรเซสเซอร์และอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต แต่ในบางกรณี ไบออสยังสามารถนำมาใช้ควบคุมกระแสข้อมูลที่วิ่งระหว่ างอุปกรณ์ เช่น กราฟิกการ์ด กับหน่วยความจำได้อีกด้วย เพื่อการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็วกว่า
Bus
"Bus" หรือ "บัส" คือเส้นทางรับ-ส่งสัญญาณ ทั้งข้อมูลและคอนโทรล ที่เชื่อมถึงอุปกรณ์ทุกๆชิ้นในเครื่องคอมพิวเตอร์หรื อเน็ตเวิร์ค เมื่อมีการส่งสัญญาณข้อมูล เฉพาะอุปกรณ์ที่ถูกแอดเดรสหรือระบุไว้เท่านั้นจึงจะร ับข้อมูลก้อนนั้นได้

ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ บัสจะหมายถึง เส้นทางข้อมูลที่เชื่อมระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุ ปกรณ์ที่เสียบเข้ากับสล็อตต่างๆบนเมนบอร์ดของเครื่อง คอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ, ซีดีรอมไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด และกราฟิกการ์ด เป็นต้น

Cache Memory
Cache Memory หรือ Cache หรือ หน่วยความจำแคช หรือ แคช คือหน่วยความจำแรม (RAM) ซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์หรือโปรเซสเซอร์แกนหลัก (Core Processor) สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (Main Memory) บนระบบคอมพิวเตอร์

กระบวน การประมวลผลข้อมูลของไมโครโปรเซสเซอร์นั้น ขั้นตอนแรกคือการเข้าไปค้นหาข้อมูลในแคชก่อน ซึ่งถ้าเจอข้อมูลที่ต้องการ ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำหลักที่ ใหญ่กว่าในระดับถัดออกไป อาทิ Cache L1, Cache L2, (Cache L3), Memory, Harddisk

บ่อยครั้งที่แคชจะถูกกำกับด้วยระดับความใกล้หรือความ ง่ายในการเข้าถึงโดยไมโครโปรเซสเซอร์

แคชระดับ1 (Cache L1) คือแคชที่อยู่เป็นเนื้อเดียวกันบนตัวไมโครโปรเซสเซอร ์ สามารถเข้าถึงได้เร็วและง่ายที่สุด

แคชระดับ2 (Cache L2) คือ แคชที่อยู่ห่างออกมาอีกระดับหนึ่ง ก่อนนี้มักนิยมแยกมาไว้บนสแตติกแรม (SRAM) แต่ปัจจุบัน โปรเซสเซอร์เกือบทุกรุ่นจะมีแคช L2 อยู่บนตัวชิป ซึ่งทำให้แคชที่อยู่บนตัวสแตติกแรมกลายเป็นแคชระดับ 3 (Cache L3) ไปโดยปริยาย

ขณะที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จะเป็นไดนามิกแรมหรือดีแรม (DRAM) ที่ปัจจุบันดีดีอาร์-ดีแรม (DDR-DRAM) จะเป็นแบบที่นิยมมากที่สุดและกำลังกลายเป็นมาตรฐานสำ หรับระบบคอมพิวเตอร์

สรุปว่า แคช (Cache) คือหน่วยความจำขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กับไมโครโปรเซสเซอ ร์ (Core Processor) มากที่สุด เป็นหน่วยความจำที่ไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้ เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (RAM) บนระบบคอมพิวเตอร์ การเพิ่มขนาดแคชทำให้ระบบสามารถเก็บข้อมูลที่โปรเซสเ ซอร์ต้องใช้ในการประมวลผลได้มากขึ้น ทำให้ใช้เวลาในการค้นหาข้อมูลน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบดีขึ้นด้วย

Chipset
"Chipset"หรือ "ชิพเซ็ต" คือ กลุ่มไมโครชิพที่ถูกออกแบบมา เพื่อเชื่อมหรือประสานการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆที่เ กี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น ชิพเซ็ต Intel 430HX สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลเพนเทียมของอินเทล ซึ่งเป็นชิพเซ็ตที่ใช้ระบบบัส (Bus) แบบพีซีไอ (PCI; Peripheral Component Interconnect) พร้อมหน่วยควบคุม หรือ คอนโทรลเลอร์ (Controller) เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Component) เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, ฮาร์ดไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด, กราฟิกการ์ด, ซีดีรอม ฯลฯ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างมีประส ิทธิภาพสูงสุด, เร็วที่สุด และมีความเสถียรมากที่สุด

Clustering ระบบคลัส เตอร์ หรือคลัสเตอริ่ง หมายถึงการเชื่อมระบบการทำงานของเซิร์ฟเวอร์เข้าด้วย กัน เพื่อเพิ่มกำลังและความสามารถในการประมวลผล ซึ่งอาจเทียบเท่าระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์หรือสูงกว่า ก็ได้ สำหรับการประมวลผลงานที่มีความซับซ้อน โดยเฉพาะงานด้านวิทยาศาสตร์ ข้อดีคือประหยัดค่าใช้จ่าย คือถูกกว่าเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์จริงๆ แต่ข้อเสียคือยุ่งยาก

Computer
Computer หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ ทำให้สามารถทำงานไปได้ โดยอัตโนมัติด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคำนวณหรือการทำงานต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด มี 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ (Main Frame) ขนาดกลาง (Mini Computer) และขนาดเล็กที่กำลังได้รับความนิยมทั่วไปในขณะนี้ เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า พีซี ปัจจุบัน การใช้ระบบเครือข่ายทำให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็ นที่ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ สื่อสารได้ นอกเหนือไปจากการใช้เพื่อการคำนวณตามวัตถุประสงค์ดั้ งเดิมของผู้ประดิษฐ์

CPU
CPU (Central Processing Unit)หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) คือ ส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมกา รทำงานของส่วนอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว ซีพียูจะประกอบไปด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit), หน่วยประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ (Arithmetic and Logic Unit; ALU) และหน่วยความจำ ได้แก่ รีจีสเตอร์ (Register), แคช (Cache), แรม (RAM) และรอม (ROM)

หน่วยควบคุมจะอ่านคำสั่ง (Instruction) จากหน่วยความจำ และถอดรหัส (Decode) คำสั่งเหล่านั้นออกมาเป็นสัญญาณที่ใช้ควบคุมส่วนต่าง ๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายรวมถึงการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยความ จำและหน่วยประมวลผลเอแอลยู หรือกระตุ้นการทำงานของอุปกรณ์ประกอบ (Peripheral) เพื่อนำเข้า (Input) หรือส่งออกข้อมูล (Output)

พาราเลลคอมพิวเตอร์ (Parallel Computer) จะ มีซีพียูทำงานร่วมกันอยู่หลายตัว โดยจะมีการใช้งานทรัพยากรหรือรีซอร์ส (Resource) ต่างๆร่วมกันด้วย เช่น หน่วยความจำและเพอริเฟอร์รัล เป็นต้น "โปรเซสเซอร์" อาจใช้แทน "ซีพียู" ได้ แม้ว่าโดยปกติแล้วจะไม่รวมแรมและรอมเข้าเป็นส่วนหนึ่ งของโปรเซสเซอร์ก็ตาม เช่นเดียวกับไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) รุ่นใหม่ ที่แม้ว่าบางรุ่นอาจรวมแรมและรอมเข้าไว้บนแผ่นวงจรอิ เล็กทรอนิกส์ หรือไอซี (Integrated Circuit; IC) เดียวกัน

DDoS
DDoS หรือ ดีดอส หรือ Distributed Denial-of-Service หรือ ดิสทริบิวต์ออฟเซอร์วิส คือ ลักษณะหรือวิธีการหนึ่งของการโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร ์เป้าหมายหรือระบบเป้าหมายบนอินเทอร์เน็ตของแฮกเกอร์ เพื่อทำให้ระบบเป้าหมายปฏิเสธหรือหยุดการให้บริการ (Denial-of-Service)

การ โจมตีจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันและมีเป้าหมายเดียวกัน โดยเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อทั้งหมด (เครื่องที่ติดเชื้อจากการแพร่กระจายตัวของโค้ดร้ายซ ึ่งเป็นเครื่องมือของแฮกเกอร์สำหรับการควบคุมระบบ) จะสร้างข้อมูลขยะขึ้นมา แล้วส่งไปที่ระบบเป้าหมาย

กระแสข้อมูลที่ไหลเข้ามาในปริมาณมหาศาลทำ ให้ระบบเป้า หมายต้องทำงานหนักขึ้นและช้าลงเรื่อยๆ เมื่อเกินกว่าระดับที่รับได้ ก็จะหยุดการทำงานลงในที่สุด อันเป็นเหตุให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้บริการระบบเป้าหมาย ได้ตามปกติ.

DDR SDRAM
DDR SDRAM หรือ Double Data Rate SDRAM หรือ ดีดีอาร์เอสดีแรม หรือ ดีดีอาร์ คือ เอสดีแรม (SDRAM) ที่ตามทฤษฎีแล้ว สามารถพัฒนาให้สามารถทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นถึง 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ) และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณคล็อก เทียบกับเอสดีแรมปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นขอ งสัญญาณคล็อกเพียงด้านเดียว

DRAM
Dynamic Random Access Memory หรือ DRAM หรือ ดีแรม คือ แรม (Random Access Memory; RAM) หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและ เครื่องเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หน่วยความจำคือเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพ ิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ

Random Access หรือ การเข้าถึงแบบสุ่ม หมายถึง โปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือ พื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ต้องการเรียงตามลำดับจาก จุดเริ่มต้น

DRAM คือไดนามิก ซึ่งตรงกันข้ามกับ SRAM หรือ สแตติกแรม (Static RAM); DRAM ต้องการการรีเฟรช (Refresh) เซลเก็บข้อมูล หรือการประจุไฟ (Charge) ในทุกๆช่วงมิลลิวินาที ในขณะที่ SRAM ไม่ต้องการการรีเฟรชเซลเก็บข้อมูล เนื่องจากมันทำงานบนทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟ ฟ้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ทิศทาง ไม่เหมือนกับเซลเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเพียงตัวเก็บประจุ ไฟฟ้าเท่านั้น โดยทั่วไป SRAM มักจะถูกใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า

DRAM จะเก็บทุกๆบิต ในเซลเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยกลุ่มตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์; Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) คาปาซิเตอร์จะสูญเสียประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว และนั่นเป็นเห็นเหตุผลว่า ทำไม DRAM จึงต้องการการรีชาร์ต

ปัจจุบัน มีแรมมากมายหลากหลายชนิดในท้องตลาด เช่น EDO RAM, SDRAM และ DDR SDRAM เป็นต้น

DVD Audio
DVD Audio หรือ ดีวีดีออดิโอ คือฟอร์แมตมาตรฐานสำหรับข้อมูลเสียง ซึ่งมีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD ในปัจจุบัน อาทิ ระบบ Dolby Digital AC-3 และระบบเสียงเซอร์ราวด์ บันทึกเสียงได้นานสุดถึง 2 ชั่วโมงเต็ม ทั้งยังซัพพอร์ตเทคโนโลยีป้องกันการก็อปปี้ข้อมูลหรื อขโมยข้อมูลด้วย

DVD Video
DVD Video หรือ ดีวีดีวีดีโอ คือฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันใน "ฮอลลีวูด" (Hollywood) หรือในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง แน่นอนว่ามีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์

DVD+RW
DVD+RW เป็น เทคโนโลยีที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นโดยบริษัทฮิวเลตต์แ พคการ์ด, มิตซูบิชิ, ฟิลิปส์, ริโค, โซนี่, เดลล์, คอมแพค และยามาฮา ซัพพอร์ตการ Re-Writable และสามารถใช้ได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD และไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถใช้เขียนหรืออ่านแผ่น DVD-RAM ได้ แต่กับแผ่น CD-R และ CD-RW ไม่มีปัญหา เพราะเทคโนโลยีนี้มีพื้นฐานเดียวกับ CD-R และ CD-RW มีความจุ 4.7GB ต่อหน้า สามารถเขียนทับได้กว่า 1,000 ครั้ง ส่วนเวอร์ชั่นที่สามารถ Re-Writable ได้ครั้งเดียวนั้น จะเรียกว่า DVD+R

DVD-R
DVD-R หรือ ดีวีดี-อาร์ เป็นมาตรฐานดีวีดีซึ่งคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยบริษัทไพ โอเนียร์ (Pioneer) มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า คุณสมบัติจะคล้ายกับ DVD-ROM คือใช้เขียนได้ครั้งเดียว แรกเริ่มเดิมทีตั้งใจจะพัฒนาขึ้นมาสำหรับผู้ใช้ระดับ โปรเฟสชั่นแนลเท่านั้นภายใต้มาตรฐาน DVD-R (A) แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเวอร์ชั่นสำหรับผู้ใช้ทั่วไ ปออกมาร่วมทำตลาดด้วยภายใต้มาตรฐาน DVD-R (G) ข้อแตกต่างระหว่าง 2 เวอร์ชั่นก็คือ เวอร์ชั่น A จะซัพพอร์ตการทำมาสเตอริ่งและมีเทคโนโลยีป้องการก็อป ปี้ข้อมูล ขณะที่เวอร์ชั่น G ไม่มี คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของ DVD-R ก็คือ สามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์

DVD-RAM
DVD-RAM หรือ ดีวีดีแรม เป็นเสมือนหนึ่งฮาร์ดดิสก์ มีการอ่านเขียนข้อมูลแบบสุ่มหรือแรนดอม (Random) เดิมมีความจุเพียง 2.6GB ต่อหน้า แต่ถูกปรับปุรงให้เป็น 4.7GB ต่อหน้าในภายหลัง และในปัจจุบันแผ่น DVD-RAM แบบดับเบิลไซด์จะมีความจุสูงสุดถึง 9.4GB สามารถเขียนทับได้มากกว่า 100,000 ครั้งโดยไม่ต้องรีฟอร์แมตก่อน อย่างไรก็ตาม DVD-RAM มีข้อจำกัดคือ ไม่สามารถเล่นกับเครื่องเล่น DVD หรือไดร์ฟ DVD-ROM ได้ จำเป็นต้องเล่นกับไดร์ฟ DVD-RAM โดยเฉพาะเท่านั้น

DVD-ROM
DVD-ROM หรือ ดีวีดีรอม รายละเอียดเชิงเทคนิคโดยทั่วไปจะเหมือนกันกับ DVD Video คือฟอร์แมตมาตรฐานที่ใช้กันใน "ฮอลลีวูด" (Hollywood) หรือในวงการภาพยนตร์ เพื่อการบันทึกข้อมูลภาพ ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่ง รวมถึงข้อมูลเสียง มีคุณภาพสูงกว่าฟอร์แมต CD และมีความจุสูงสุดประมาณ 17 กิกะไบต์ แต่ที่พิเศษกว่าคือ สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ด้วย เพื่อการบันทึกข้อมูลประเภทดาต้าอื่นๆ

DVD-RW
DVD-RW หรือ ดีวีดี-อาร์ดับเบิลยู เป็นมาตรฐานที่พัฒนาต่อยอดจาก DVD-R ให้มีความสามารถทั้งอ่านและเขียน มีความจุ 4.7GB (กิกะไบต์) ต่อหน้า สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำ (Re-Written) ได้ประมาณ 1,000 ครั้ง และสามารถเล่นได้กับทั้งเครื่องเล่น DVD ทั่วไปและไดร์ฟ DVD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์เช่นเดียวกับ DVD-R

EEPROM
EEPROM หรือ Ectrically Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ อีเอ็ปรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ที่ผู้ใช้สามารถลบหรือแก้ไขหรือเขียนซ้ำข้อมูลที่บรร จุอยู่ภายในได้ และสามารถกระทำซ้ำได้หลายครั้ง โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าปกติ EEPROM จะต่างจาก EPROM ตรงที่ไม่จำเป็นต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่ อทำการแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูลใน EEPROM จะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมด ไม่สามารถเลือกลบเฉพาะบางส่วนได้ อย่างไรก็ตามมันมีอายุการใช้งานจำกัดขึ้นอยู่กับจำนว นครั้งในการลบหรือแก้ไขข้อมูล เช่น 10 ครั้งหรือ 100 ครั้ง รูปแบบพิเศษของ EEPROM คือหน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) ซึ่งใช้ระดับไฟปกติในเครื่องพีซีสำหรับการลบหรือเขีย นหรือแก้ไขข้อมูล

EPROM
EPROM หรือ Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ เอ็ปรอม คือ พีรอม (PROM) ซึ่งสามารถลบและนำมาใช้ซ้ำได้ การลบข้อมูลในเอ็ปรอมสามารถทำได้โดยการนำไปตากแดด รังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับชิพหน่ว ยความจำและลบข้อมูลทั้งหมดออกไป อย่างไรก็ตามการลบข้อมูลจะเกิดขึ้นภายใต้แสงแดดจัดเท ่านั้น แสงแดดที่ส่องผ่านเข้ามาในห้องอาจมีปริมาณรังสีอุลตร ้าไวโอเลตไม่เพียงพอสำหรับกระบวนการดังกล่าวได้

Firewall
Firewall หรือ ไฟร์วอลล์ คือ เทคโนโลยีที่ช่วยกันผู้บุกรุก ทั้งจากอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอื่นๆ ไม่ให้เข้าถึงข้อมูลบนเครื่องพีซีของคุณ โดยการกรองข้อมูลทั้งหมดที่ไหลเข้าหรือออกจากเครื่อง คอมพิวเตอร์

ระบบ หนึ่งหรือหลายระบบรวมกัน ซึ่งสร้างหรือควบคุมให้มีเส้นแบ่งระหว่างสองเครือข่า ยขึ้นไป เป็นเกตเวย์ที่จำกัดการเข้าถึงเครือข่ายต่างๆ โดยเป็นไปตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายน ั้นๆ

ไฟร์วอลล์ โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องพีซีที่มีราคาไม่สูง มากนักและรันระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เครื่องดังกล่าวจะไม่มีข้อมูลสำคัญอยู่ โดยมีโมเด็มและพอร์ตต่างๆเชื่อมอยู่กับเครือข่ายภายน อก แต่จะมีเพียงพอร์ตเดียวที่ต่อกับเครือข่ายภายใน ซึ่งพอร์ตนี้จะถูกตรวจตราและดูแลอย่างใกล้ชิด

Flash Memory
"Flash Memory" หรือ "แฟลชเมมโมรี่" หรือ "หน่วยความจำแฟลช" คือ หน่วยความจำประเภท "นอนโวลาไทล์" (Nonvolatile) ซึ่งสามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในยูนิตของ หน่วยความจำที่เรียกว่า "บล็อก" (Block) ได้ ข้อแตกต่างระหว่าง "EEPROM" กับ "Flash Memory" คือการลบหรือแก้ไขข้อมูล ซึ่ง "EEPROM" จะกระทำในระดับไบต์ หมายความว่า "Flash memory" จะทำงานได้เร็วกว่า

"Flash Memory" มักถูกใช้สำหรับการเก็บคอนโทรลโค้ด เช่น ไบออส ( Basic Input/Output System; BIOS) เนื่องจากง่ายต่อการอัพเดทข้อมูล อย่างไรก็ตาม มันไม่สามารถนำมาใช้งานแทน "แรม" (RAM) ได้ เพราะแรมต้องการการระบุตำแหน่งในระดับไบต์ ไมใช่บล็อก

"Flash" เป็นชื่อที่ได้มาจากพฤติกรรมของชิพที่นำมาใช้ ซึ่งสามารถลบข้อมูลที่บรรจุภายในเซลได้ด้วยการกระทำเ พียงครั้งเดียว

ปัจจุบัน "Flash Memory" ถูกใช้ในอุปกรณ์ดิจิตอลชนิดต่างๆมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ, กล้องดิจิตอล, แลนสวิตช์, พีซีการ์ดสำหรับโน้ตบุ๊ค, เซ็ตท็อปบ็อกซ์, คอนโทรลเลอร์ ฯลฯ

Free Software
Free Software เป็น คำที่มีคนเข้าใจผิดกันมาก เพราะคำว่า Free ใน Free Software นั้นหมายถึง "เสรีภาพ" หรือ "อิสระภาพ" ไม่ใช่ "ราคา" ดังนั้นเราจึงเรียก Free Software ว่า "ซอฟต์แวร์เสรี" ซึ่งมีแนวคิดหรือคอนเซ็ปต์เดียวกันกับ "โอเพนซอร์ส" (Open Source)

สำหรับนิยามของคำว่า Free Software นั้น มีอยู่ทั้งหมด 4 ข้อด้วยกัน คือ

1.มีเสรีในการรันหรือใช้ซอฟต์แวร์สำหรับทุกๆวัตถุประ สงค์

2.มีเสรีในการปรับปรุงแก้ไขซอฟต์แวร์ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการ

สำหรับ ข้อนี้นั้น จำเป็นที่เราจะต้องรู้ก่อนว่า การปรับแต่งซอฟต์แวร์ต้องกระทำในส่วนที่เป็นซอร์สโค้ ดเท่านั้น หากไม่มีซอร์สโค้ด ก็ไม่สามารถทำได้ หรืออาจจะได้ แต่ยากมากๆ

3.มีเสรีในการก็อปปี้ซอฟต์แวร์เพื่อเผยแพร่ไปยังผู้อ ื่น ไม่ว่าจะมีราคาค่าตัวหรือไม่ก็ตาม

4.มีเสรีในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่ได้รับการปรับแต่งใ ห้เหมาะสมตามความต้องการแล้ว

จาก นิยามทั้ง 4 ข้อ เมื่อคำว่า Free ถูกตีความไปเป็นคำว่า "เสรีภาพ" หรือ "อิสรภาพ" แล้ว เชื่อว่าหลายๆคนคงได้รับความกระจ่างกับคำถามที่ว่า "ทำไมฟรีซอฟต์แวร์ถึงขายได้???" หรือ "ทำไมลีนักซ์จึงไม่ใช่ของฟรี??? ไหนบอกว่าเป็นฟรีซอฟต์แวร์"

อย่างไรก็ตาม รายได้จากการจำหน่ายฟรีซอฟต์แวร์จะกลายเป็นทุนสำหรับ การพัฒนาฟรีซอฟต์แวร์ให้ดีขึ้นต่อไป เพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้อง และอาสาสมัครที่เข้ามาร่วมพัฒนาฟรีซอฟต์แวร์ก็เป็นมน ุษย์คนหนึ่งเช่นกัน จำเป็นต้องมีรายได้เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว ซึ่งรายได้เหล่านั้นก็มาจากเงินบริจาคและจากการจำหน่ ายฟรีซอฟต์แวร์นั่นเอง

FrontSide Bus
FrontSide Bus หรือ ฟรอนต์ไซด์บัส คือช่องทางการสื่อสารข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมระหว่างโปรเซสเซอร์กับหน่วยความจำหลัก หรือแรม

Hacker
Hacker หรือ แฮกเกอร์ คือ ผู้ที่ชื่นชอบในการเสาะค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับเครื ่องคอมพิวเตอร์และวิธีการที่จะใช้เครื่องให้ได้เต็มห รือเกินขีดความสามารของเครื่อง

ผู้ที่ชอบสอดรู้สอดเห็นที่พยายามจะให้ได้มาซึ่งข้อมู ล โดยการสอดแนมในที่ต่างๆ

ผู้ ที่ชื่นชอบในการเรียนรู้ในรายละเอียดของการเขียนโ ปรแกรมและวิธีที่จะใช้มันให้ได้เต็มหรือเกินขีดความส ามารถ ซึ่งตรงข้ามกับผู้ใช้ทั่วๆไปที่ต้องการเรียนเพียงที่ จำเป็นต้องใช้เท่านั้น

ผู้โจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อความท้าทาย สถานะ หรือความตื่นเต้น ที่จะได้มาเมื่อประสบความสำเร็จ

Instant Messaging
Instant Messaging หรือ IM หมาย ถึงโปรแกรมที่ให้ผู้ใช้สามารถส่งผ่านข้อความ, ตัวอักษร, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว, ไฟล์มัลติมีเดีย หรือคุยตอบโต้กันได้แบบเรียลไทม์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

Instruction
Instruction หรือ อินสตรักชั่น คือ คำสั่งที่สั่งโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้โปรเซสเซ อร์ทำงานตามที่ต้องการ

ใน ระดับล่างสุด อินสตรักชั่นแต่ละอินสตรักชั่นจะประกอบไปด้วย 0 และ 1 เรียงต่อๆกันอยู่ ซึ่งจะอธิบายถึงลักษณะและวิธีการประมวลผล เช่น บวกหรือลบ

พื้นที่ ที่ใช้เก็บจำนวนหรือผลลัพธ์ที่ใช้ในการประมวล ผล หรือแอดเดรสของอินสตักชั่นถัดไปในหน่วยความจำ (ขึ้นอยู่กับประเภทของอินสตักชั่น) ไม่ว่าจะเป็นการอ้างอิงแอดเดรสแบบทางตรง (Direect) หรือทางอ้อม (Indirect) จะเป็นพื้นที่เฉพาะที่เรียกว่า "รีจีสเตอร์" (Register)

ในภาษาแอสเซ มเบลอร์ (Assembler) ของคอมพิวเตอร์ คำสั่งแต่ละสเตทเมนต์จะเท่ากับ 1 อินสตักชั่น แต่สำหรับในภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงแล้ว คำสั่งแต่ละสเตทเมนต์จะเท่ากับหลายๆอินสตักชั่นรวมกั น

LAN
LAN (Local Area Network) หรือ แลน คือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ หมายถึง การต่อเชื่อมคอมพิว เตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย แต่ละเครื่องจะอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน เช่น ใน อาคารเดียวกัน คอมพิวเตอร์เหล่านี้จะทำงานร่วมกันได้ ใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมร่วมกันได้ ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ นับเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ชื่อของโปรแกรมระบบแลนที่โด่งดังก็มี Novell, Windows NT ดู WAN เปรียบเทียบ

Linux
Linux หรือ ลีนักซ์ คือระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี เป็นซอฟต์แวร์ประเภทโอเพ่นซอร์ส (Opensource) หรือฟรีซอฟต์แวร์ (Free Software) คือมีอิสระในการใช้งาน, มีอิสระในการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างภายใน และมีอิสระในการแจกจ่ายให้ผู้อื่นใช้ ภายใต้โอเพ่นซอร์สไลเซนส์

LinuxSIS
ลินุกซ์ซิส (Linux SIS : Linux School or Small Office Internet Server) คือ ชุดซอฟต์แวร์
สำเร็จ รูป ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาระบบปฏิบัติการของคนไทยที่ทำหน้าที่เป็น อินเทอร์เน็ต หรือ อินทราเน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet / Intranet Server) ให้กับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อลดต้นทุนด้านซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้
ลินุกซ์ซิส เป็นชุดซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่นำไปติดตั้งกับเครื่องค อมพิวเตอร์ธรรมดาทั่วๆ ไป (PC :
Personal Computer) หรือเครื่องแม่ข่ายธรรมดา (Server PC Base) ให้กลายเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server
เครื่อง แม่ข่าย) ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้บริการแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ภายใน / ภายนอกโรงเรียน หรือหน่วยงานต่างๆ โดยมีบริการให้เลือกใช้อย่างมากมาย ตัวอย่างเช่น Web server, Mail server, Proxy/Cache Server และDNS server เป็นต้น และยังมีซอฟต์แวร์เสริมต่างๆ อีกมากมายที่ช่วยให้การทำงานต่างๆ ง่ายขึ้น

Main Frame
Mainframe คือ คำที่กลุ่มอุตสาหกรรมใช้เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ข นาดใหญ่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตคอมพิ วเตอร์ชั้นนำ เช่น บริษัทไอบีเอ็ม (IBM)

ที่ผ่านมา เครื่องคอมพิวเตอร์แมนเฟรมจะทำงานภายใต้สถาปัตยกรรมแ บบสู่ศูนย์กลาง (Centralized) มากกว่าจะเป็นแบบกระจาย (Distributed) แต่ในปัจจุบัน เครื่องเมนเฟรมของไอบีเอ็มสามารถทำหน้าที่เสมือนเครื ่องเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้แล้ว มันสามารถให้บริการแก่ยูสเซอร์และเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็ กใดๆในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้

MalWare
มัลแวร์ หรือโปรแกรมประสงค์ร้าย (Malicious Application; MalWare) คือโปรแกรมที่ทำงานแบบไม่หวังดีกับระบบคอมพิวเตอร์ อันหมายรวมถึง ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus), หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm), ม้าโทรจัน (Trojan Horse), โปรแกรมแอบดักข้อมูล (Spyware), โปรแกรมโฆษณา (Adware), Backdoor, Key Logger ฯลฯ เพิ่มเติมความหมายในรายละเอียดจะต่อให้ข้างหลัง

Memory
Memory หรือ หน่วยความจำ คือ อุปกรณ์อีเลคโทรนิคที่ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลบางส่ว นซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วที่สุด บางครั้งคำว่า "หน่วยความจำ" อาจใช้แทนคำว่า "แรม" (RAM; Random Access Memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งได้

Microchip
Microchip หรือ ไมโครชิพ หรือ ชิพ คือแพ็คเกจของชุดวงจรคอมพิวเตอร์ (อินทิเกรเต็ดเซอร์กิต; Integrated Circuit) ซึ่งผลิตขึ้นจากวัตถุดิบ เช่น ซิลิคอน ที่มีขนาดเล็กมากๆ ไมโครชิพถูกสร้างขึ้นสำหรับโปรแกรมตรรก (ชิพไมโครโปรเซสเซอร์) และหน่วยความจำ (แรม; RAM) นอกจากนี้ยังถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆอีกด ้วย เช่น Analog-to-Digital Conversion, Bit Slicing และ Gateway เป็นต้น

Microprocessor
Microprocessor หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ คือ คอมพิวเตอร์โปรเซสเซอร์บนไมโครชิพ มันเป็น "เอนจิ้น" ซึ่งจะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเ ตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ถูกออกแบบมาเพื่อการประมวลผลคณิตศาส ตร์และตรรกศาสตร์ซึ่งอาศัยตัวเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่เ รียกว่า "รีจีสเตอร์" (Register) เป็นตัวเก็บนำส่งข้อมูลและเก็บผลลัพธ์เป็นการชั่วครา ว

ลักษณะ การประมวลผลทั่วๆไปของไมโครโปรเซสเซอร์ได้แก่ การบวก, การลบ, การเปรียบเทียบตัวเลข 2 จำนวน และการดึง (Fetch) ข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ลักษณะการประมวลผลเหล่านี้คือผลจากชุดคำสั่ง (Instruction) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์

เมื่อเปิดสวิตช์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์จะอ่านคำสั่งชุดแรกจากระบบอินพุตเอา ต์พุตเบื้องต้นหรือไบออส (Basic Input/Output System; BIOS) ซึ่งจะติดมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็น ส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ หลังจากนั้น ทั้งไบออส หรือระบบปฏิบัติการที่ไบออสโหลดเข้ามาเก็บไว้ในหน่วย ความจำ หรือแอพพลิเคชั่นโปรแกรม จะเป็นตัวขับเคลื่อนไมโครโปรเซสเซอร์ หมายถึงการป้อนชุดคำสั่งให้ประมวลผลหรือปฏิบัติงาน

Motherboard
Motherboard หรือ Mainboard หรือ มาเธอร์บอร์ด หรือ เมนบอร์ด คือ แผงวงจรหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ รูปแบบโดยทั่วไปของเมนบอร์ดในปัจจุบันจะเป็นแบบ AT ซึ่งอ้างอิงตามแบบดั้งเดิมของไอบีเอ็ม และ ATX ซึ่งเป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อจาก AT มาอีกขั้นหนึ่ง

ส่วนประกอบหรือ อุปกรณ์ประกอบที่มาต่อกับเมนบอร์ด ได้แก่ ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor), หน่วยความจำ (Memory), ไบออส (BIOS), เอ็กซ์แพนชั่นสล็อต (Expansion Slot) และช่องต่ออินเตอร์คอนเนคติ้ง (Interconnecting)

อุปกรณ์อื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมาสามารถเชื่อม ต่อกั บเมนบอร์ดได้โดยผ่านทางเอ็กซ์แพนชั่นสล็อต ขณะที่ช่องทางที่เชื่อมต่อระหว่างเมนบอร์ดกับการ์ดใน เอ็กซ์แพนชั่นสล็อต จะเรียกว่า บัส (Bus)

Mouse
Mouseหรือ เมาส์ คือ อุปกรณ์สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์บนจอภาพ, อุปกรณ์นำเข้า (input device) ชนิดหนึ่งมีขนาดพอเหมาะกับมือเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สามารถเคลื่อนย้ายไปบนผิวพื้นเรียบ ตัวเมาส์นี้ เมื่อเชื่อมต่อกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จะเป็นตัวทำให้เคลื่อนย้าย cursor ไปในทิศทางที่ต้องการได้ ใต้ตัวเมาส์จะมีลูกกลิ้งกลม ๆ ซึ่งจะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เคลื่อนย้ายไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ โดยปกติ เมาส์ของพีซีจะมี 3 ปุ่ม ส่วนใหญ่จะใช้ปุ่มทางด้านซ้าย ระบบวินโดว์ 95 มีการใช้ปุ่มทางขวาของเมาส์มากขึ้น ส่วนเมาส์ของแมคอินทอชจะมีปุ่มเดียว การใช้เมาส์จะมี 3 ลักษณะ คือ กดที่ปุ่มซ้ายหรือขวาเพียงครั้งเดียวเพื่อเลือกคำสั่ ง หรือกำหนดภาพ ฯ กด 2 ครั้ง ติด ๆ กันเพื่อเริ่มต้นโปรแกรมหรือเปิดแฟ้มข้อมูล กับกดแล้วลากเพื่อเคลื่อนย้ายข้อความหรือภาพ

Nonvolatile Memory
Nonvolatile Memoryหรือ นอนโวลาไทล์เมมโมรี่ คือ หน่วยความจำทุกชนิดที่ไม่ต้องทำการรีเฟรชคอนเทนต์ ได้แก่ รอมทุกประเภท (ROM) เช่น พีรอม (PROM), เอ็ปรอม (EPROM), อีเอ็ปรอม (EEPROM) และแฟลชเมมโมรี่ (Flash Memory) รวมถึงแรม (RAM) ที่ต้องใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ด้วย

Open-Source
"Open-Source" หรือ "โอเพ่นซอร์ส" คือคำที่ใช้แทนคำว่า ฟรีซอฟต์แวร์ (Free Software) หรือซอฟต์แวร์เสรี ที่ให้เสรีภาพแก่ผู้บริโภคในการรัน, แก้ไขปรับปรุง และเผยแพร่โปรแกรม ไม่ว่าจะโดยการจำหน่ายหรือให้ฟรีก็ตาม แต่ที่สำคัญคือต้องแถมซอร์สโค้ด (Source Code) ไปด้วย

Operating System
Operating System (OS)หรือ ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่โหลดขึ้นมาตามกระบวนการบูตเครื่องคอมพิวเต อร์ โปรแกรมนี้จะคอยจัดการกับโปรแกรมอื่นๆทั้งหมดในเครื่ องคอมพิวเตอร์ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะถูกเรียกว่า "แอพพลิเคชั่น (Application)" แอพพลิเคชั่นโปรแกรมจะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โด ยอาศัยโปรแกรมระบบปฏิบัติการผ่านทางส่วนติดต่อที่มีช ื่อว่า เอพีไอ (Application Program Interface; API) ในขณะที่ผู้ใช้จะติดต่อกับระบบปฏิบัติการผ่านทางส่วน ติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) ซึ่งเป็นแบบกราฟิก (Graphical User Interface) หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ GUI
Back to top Go down
ninein

ninein


Posts : 57
Join date : 2009-11-01

ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้ Empty
PostSubject: Re: ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้   ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้ EmptyMon Nov 02, 2009 6:23 pm

PCI Express
เทคโนโลยี ใหม่สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต โดยเฉพาะกราฟิกการ์ด มีแบนด์วิธกว้างกว่าและความเร็วสูงกว่ามาตรฐาน PCI ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

มาตรฐาน PCI จะมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดที่ 133 เมกะไบต์ต่อวินาที (MBps) และเป็นการส่งผ่านแบบทิศทางเดียว เทียบกับ 250 MBps ต่อทิศทางของ PCI Express และเป็นการส่งผ่านข้อมูลแบบ 2 ทิศทาง รวมเป็นแบนด์วิธทั้งสิ้น 500MBps

นั่นหมายถึงความเร็วโดยรวมของระบบที่สูงขึ้น และประสิทธิภาพในการใช้งานเครือข่ายกิกะบิตที่สูงขึ้ น ซึ่งปกติจะเกิดปัญหาคอขวด ทั้งยังเป็นการปูทางสำหรับเทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นในอ นาคต เช่น HDTV (High-Definition TV) และกราฟิกเทคโนโลยีระดับแอดวานซ์ ด้วย

Peripheral
Peripheral หรือ เพอริเฟอรัล คือคำที่ใช้เรียกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใดๆที่ไม่ใช่ส่วน ประกอบหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ (โปรเซสเซอร์, เมมโมรี และเมนบอร์ด) แต่ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพอริเฟอรัลอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต (Input/Output (I/O) Device) ซึ่งบางตัวจะเชื่อมอยู่กับเมนบอร์ดภายในเคสคอมพิวเตอ ร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์, ซีดีรอม และการ์ดแลน ขณะที่อื่นๆจะอยู่นอกเคสฯ เช่น พรินเตอร์และสแกนเนอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลหรือไร้สายก็ต าม


Phishing
พฤติกรรม การหลอกลวงผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่ อล้วงข้อมูลส่วนตัว ด้วยการอ่อยเหยื่อออนไลน์ จนเป็นที่มาของคำว่า phishing โดยเลียนคำว่า fishing ที่หมายถึง การตกปลา

วิธีการหลอกลวงจะเริ่มต้นจากการสุ่มส่ง อีเมล์ไปยังสม าชิกของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต (ไอเอสพี) หรือบริษัทการเงินที่น่าเชื่อถือ โดยเนื้อหาในอีเมล์จะขอให้ผู้เป็นสมาชิกติดต่อทางบริ ษัท โดยผ่านทางเว็บเพจที่ระบุไว้ในตอนท้ายของอีเมล์

สุดยอดของกลเม็ดนี้ ก็คือการลวงใช้ URL เดียวกันกับเว็บไซต์จริง ๆ ของบริษัทต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้เป็นสมาชิกเว็บไซต์นั้นๆ หลงเชื่อคลิกเข้าไปที่เว็บเพจดังกล่าว โดยจะเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์ที่ถูกเลียนแบบให้มีรูปล ักษณ์หน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บไซต์จริงของทางบริษัทเป็ นอย่างมาก

ใน หน้าเว็บไซต์ดังกล่าว จะมีข้อความให้ผู้ที่หลงเชื่อกรอกรายละเอียดต่างๆ ในการเป็นสมาชิกเสีย ใหม่ รวมทั้งรหัสผ่านหรือพาสเวิร์ด และหมายเลขบัตรเครดิตด้วย เท่านี้เหยื่อก็ติดกับแฮคเกอร์เหมือนเป็นปลาน้อยหลงก ลนักตกปลา

Podcast
พ็อดคาสต์หรือ Podcast คือ การบันทึกเสียงหรือการนำไฟล์เสียงขึ้นไปเก็บบนเว็ บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจดาวน์โหลดมาฟัง ไฟล์เสียงที่ถูกเก็บไว้ในพ็อดคาสต์ไม่จำเป็นต้องเป็น ไฟล์เพลงเสมอไป เจ้าของเว็บไซต์สามารถประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่เกี่ย วกับเสียง หรืออาจทำในรูปแบบ Audio Weblog หรือเว็บล็อกที่ใช้เสียงพูดแทนตัวหนังสือ

กรณี ศึกษาที่เห็นได้ชัดคือ เว็บไซต์อย่าง EarningsCast.com นักลงทุนสามารถฟังรายงานผลประกอบการรายไตรมาสของบริษ ัทในตลาดหลักทรัพย์ได้ผ่านพ็อดคาสต์ ถือเป็นการใช้พ็อดคาสต์เพื่อเป็นประโยชน์ในการเทรดหุ ้นของบริษัท

จุด ต่างของระหว่างพ็อดคาสติ้งและสถานีเพลงออนไลน์ทั่ วไปคือ ผู้ที่ต้องการฟังสถานีเพลงออนไลน์จะต้องเข้าไปที่เว็ บไซต์เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ MP3 มาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะดาวน์โหลดเพื่อเก็บในเครื่องเล่นพกพา ในขณะที่สมาชิกของเว็บไซต์พ็อดคาสต์จะได้รับไฟล์ MP3 อัปเดทใหม่แบบอัตโนมัติแม้จะไม่ได้เข้าไปที่หน้าเว็บ ไซต์ก็ตาม ผลจากการทำงานร่วมกับ RSS Feed

อย่างไรก็ตาม พ็อดคาสต์ถูกมองว่าเป็นช่องทางการสื่อสารเฉพาะกลุ่มเ ท่านั้น เนื่องจากการใช้งานพ็อดคาสต์จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่เ หมาะสม อย่างเช่นควรมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อการดาวน์ โหลดลงเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือต้องมีอุปกรณ์เครื่องเล่นไฟล์เพลงแบบพกพาที่รองร ับพ็อดคาสต์โดยเฉพาะ

Processor
Processor หรือ โปรเซสเซอร์ คือ วงจรตรรก (Logic) ซึ่งทำหน้าที่ตอบสนองหรือประมวลชุดคำสั่งพื้นฐาน (Instruction) ที่ใช้ในการขับเคลื่อนคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้วคำ "Processor" อาจใช้แทนคำ "CPU" ได้ ทั้งนี้โปรเซสเซอร์ที่อยู่ในเครื่องพีซีหรือในอุปกรณ ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กจะนิยมเรียกว่า "Microprocessor" หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์

PROM
Programmable Read-Only Memory หรือ PROM หรือ พีรอม คือ หน่วยความจำรอม (ROM) ซึ่งผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อมูลที่บันทึกไว้ได้ 1 ครั้ง PROM คือทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการบันทึกโค้ดโป รแกรมในหน่วยความจำรอม ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า PROM Programmer ในการบันทึก เครื่องมือชิ้นนี้จะป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปในเซลเฉพาะข องหน่วยความจำรอมซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนฟิวส์ไฟฟ้า กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า การเบิร์นนิ่งพีรอม (Burning PROM) ข้อจำกัดในการเบิร์นนิ่งพีรอมคือห้ามเกิดข้อผิดพลาดใ ดๆทั้งสิ้น เนื่องจากสามารถแก้ไขได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้นจึงมีการคิดค้นรอมชนิดอื่นขึ้นมา เช่น EPROM (Erasable Programmable Read-Only Memory) และ EEPROM (Electrically Erasable Programmable Read-Only Memory) ซึ่งสามารถแก้ไขได้หลายครั้ง

RAID 0
RAID 0 คือ เทคโนโลยีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์มองฮาร์ดดิสก์ 2 ตัวเป็นตัวเดียว ประโยชน์ที่ได้รับก็คือพื้นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ และความเร็วในการเรียกใช้และจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ ้นประมาณ 2 เท่า

RAID 1
RAID 1 คือ เทคโนโลยีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานฮ าร์ดดิสก์ 2 ตัว ทำการบันทึกข้อมูลชุดเดียวกันลงฮาร์ดดิสก์ทั้ง 2 ตัว เสมือนเป็นแบ็คอัพซึ่งกันและกัน ประโยชน์ที่ได้รับก็คือความมั่นใจในการกู้ข้อมูลหากเ กิดความเสียหายขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่ง

RAM
RAM (Random Access Memory) คือ ส่วนประกอบหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้เก็บ ส่วนหนึ่งหนึ่งของระบบปฏิบัติการ แอพพลิเคชั่น และข้อมูลที่ใช้ในขณะนั้น เนื่องจากโปรเซสเซอร์จะเข้าถึงข้อมูลในแรมได้เร็วกว่ าสื่อบันทึกข้อมูลแบบอื่นๆ เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ, ฟลอปปี้ดิสก์ และซีดีรอม เป็นต้น แต่แรมไม่ใช่สื่อบันทึกข้อมูลแบบถาวร ข้อมูลในแรมจะคงอยู่ตราบเท่าที่ยังเปิดใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์อยู่เท่านั้น และทันทีที่คุณปิดเครื่อง ทั้งหมดก็จะหายไป
Back to top Go down
 
ศัพท์คอมพิวเตอร์น่ารู้
Back to top 
Page 1 of 1

Permissions in this forum:You cannot reply to topics in this forum
tedter :: ☺ เเลกเปลี่ยนความรู้ ☺ :: ☻ Tip Computer ☻-
Jump to: